347 จำนวนผู้เข้าชม |
คู่มือการบำรุงรักษา
สำหรับ
เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ
“TSURUMI” SUBMERSIBLE EJECTOR / AERATOR
การใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ
เพื่อให้เครื่องเติมอากาศใต้น้ำอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนเริ่มเดินเครื่องเติมอากาศ ควรศึกษาคู่มือฉบับนี้ก่อนให้เข้าใจและโปรดปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ตามคำแนะนำ
ถ้าหากมีปัญหาประการใด โปรดสอบถาม ฝ่ายบริการซูรูมิของทางห้างฯ ได้
1. ส่วนประกอบของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ
EJECTOR (BER Series)
AERATOR (TR/TRN Series)
ข้อมูลจำเพาะของเครื่องเติมอากาศ
2. การตรวจสอบก่อนใช้งาน
2.1 ตรวจสภาพเครื่องเติมอากาศจนแน่ใจว่าไม่มีส่วนใดชำรุดเสียหาย เนื่องจากการขนส่งหรือ การติดตั้งเครื่องเติมอากาศ
2.2 ห้ามทิ้งปลายสายไฟลงน้ำ หรือ ยกตัวเครื่องเติมอากาศด้วยสายไฟที่ติดมากับตัวเครื่องเติมอากาศ ซึ่งอาจทำให้น้ำเข้าเครื่องเติมอากาศ หรือทำให้สายไฟขาด และจะเป็นสาเหตุทำให้มอเตอร์ไหม้ได้
2.3 ในกรณีที่สายไฟจากตัวเครื่องเติมอากาศมีความยาวไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องต่อสายไฟอย่าต่อขั้วสายไฟบริเวณที่น้ำอาจท่วมถึง เพราะจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ความยาวสายไฟให้ใช้แต่เพียงพอเท่านั้น อย่าใช้สายไฟยาวเกินความจำเป็น และให้ใช้ขนาดที่พอเหมาะ ถ้าสายไฟยาวเกินไปอาจทำให้แรงดันต่ำเกินไป ทำให้ไม่สามารถสตาร์ทมอเตอร์ได้
3. การเดินเครื่อง
3.1 การต่อขั้วสายไฟ ตามตารางด้านล่าง สายไฟจากตัวมอเตอร์จะเป็นดังนี้
รูปแสดง ขั้วต่อสายไฟของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ
สตาร์ทแบบ Star-Delta (11 kw. ขึ้นไป)
3.2 ทิศทางการหมุนของใบพัด ถ้าการต่อสายถูกต้องตามรูปแบบ การหมุนของใบพัดก็จะหมุนในทิศทางที่ถูกต้อง คือ หมุนทวนเข็มนาฬิกา ถ้าดูจากทางด้านล่างของตัวเครื่องเติมอากาศ ถ้าหากการหมุนของใบพัดผิดทิศทาง ให้สลับเฟสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า 2 สายใดในจำนวน 3 สาย(R, S, T) หรือ (U, V, W)
3.3 เนื่องจากมอเตอร์ชนิดนี้ เป็นชนิดที่ต้องแช่น้ำตลอดเวลา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องต่อสายดิน (Ground) สายดินของเครื่องเติมอากาศจะเป็นสีเขียว
3.4 ระบบป้องกันมอเตอร์ไหม้จากความร้อน มีอุปกรณ์ติดตั้งไว้สำหรับหยุดการทำงานของมอเตอร์ ในกรณีที่ขดลวดของมอเตอร์ร้อนเกินไปอันเนื่องจากการทำงานผิดปกติ หรือเกินกำลังมอเตอร์ ซึ่งจะสั่งตัดการทำงานของมอเตอร์ที่อุณหภูมิ 1150C ±50C
- โดยขนาดของมอเตอร์ 7.5 kw. หรือต่ำกว่า จะใช้ Circle Thermal Protector (CTP) เมื่อมอเตอร์เย็นลง เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้มอเตอร์สตาร์ทเครื่องเอง
- และขนาดของมอเตอร์ 11 kw. ขึ้นไป จะใช้ Miniature Thermal Protector (MTP) มีในมอเตอร์ที่สตาร์ทแบบ
Star-Delta และมีหลักการทำงานคล้าย CTP ตัดการทำงาน ของมอเตอร์ด้วยความร้อน โดยจะส่งสัญญาณให้ไปตัดวงจรการทำงานของมอเตอร์ที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า ถ้าต้องการให้ทำงาน ต้องกดปุ่ม RUN,ON ที่ตู้ควบคุม (ก่อนที่จะสตาร์ทมอเตอร์ ควรจะตรวจสอบว่ามีสาเหตุอะไรที่ทำให้มอเตอร์เกิดความร้อนสูง)
4. การตรวจสภาพเครื่องเติมอากาศ
ระยะที่ต้องตรวจ และหลักการตัดสินว่าเครื่องเติมอากาศทำงานปกติหรือไม่ ในระหว่างการทดสอบในสถานที่ใช้งาน (Field Test) หรือการทำงานประจำวัน มีดังต่อไปนี้
4.1 ตรวจสอบระบบหล่อลื่นน้ำมัน ตรวจสภาพทุกๆ 6 เดือน และเปลี่ยนทุกๆ 1 ปี ถอด Oil Plugของเครื่องเติมอากาศ เทน้ำมันออก ถ้าพบว่ามีน้ำผสมอยู่ในน้ำมัน (สังเกตได้โดยน้ำมันจะมีสภาพผิดปกติ) ซีลของเพลามีความจำเป็นต้องเปลี่ยน ถ้าน้ำมันที่เทออกมาแล้วอยู่ในสภาพปกติ ให้เติมน้ำมันใหม่ในปริมาณที่กำหนดไว้ แล้วทำการอุดด้วย Oil Plug
(น้ำมันที่ใช้Turbine Oil ISO VG 32) ให้เปลี่ยนซีลยาง (O-Ring) ของ Oil Plug ด้วยถ้าพบว่าชำรุด
4.2 ถ้าสมรรถนะของตัวเครื่องเติมอากาศลดลง อาจจะเป็นเพราะว่าใบพัดของตัวเครื่องเติมอากาศสึกกร่อน หรือมีขยะอุดตันที่ใบพัด ถ้าเป็นเช่นนี้ให้ถอดใบพัดและเอาขยะที่อุดตันออก
4.3 การตรวจสอบเครื่องเติมอากาศ และระบบท่อส่ง
4.3.1 ตรวจเครื่องเติมอากาศ : ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และทำงานตามที่ระบุไว้ที่เครื่อง
4.3.2 ตรวจใบพัดของเครื่องเติมอากาศ : ไม่ตันและไม่สึกกร่อน
5. การตรวจสอบระบบไฟฟ้า (ตามปกติ)
5.1 ตรวจแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า ว่าจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าตามปกติหรือไม่
5.2 ตรวจขนาดของฟิวส์ได้ตามขนาดที่ต้องการหรือไม่ ควรมีฟิวส์สำรองไว้ในตู้ควบคุม
5.3 ตรวจขนาดและค่าต่างๆ ของอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุม ตั้งได้ค่าและตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ (เช่น พวกเทอร์มอล รีเลย์ ฯลฯ)
5.4 ตรวจสภาพของฉนวนไฟฟ้าของขดลวดพันมอเตอร์โดยใช้ Megger Tester ให้ถอดสายไฟฟ้าของตัวเครื่องเติมอากาศออกจากตู้ควบคุมก่อนทำการตรวจวัดทุกครั้ง โดยวัดสภาพของฉนวนระหว่างสายไฟฟ้ากับสายดิน ค่าที่วัดได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 10 Megohm ขึ้นไป มอเตอร์จึงจะอยู่ในสภาพใช้งานได้ ถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่า 10 Megohm จะต้องทำการถอด Motor และทำการซ่อมแซม การตรวจสภาพฉนวนไฟฟ้า ควรตรวจทุก 3 เดือน
6. ลักษณะการกระจายอากาศ
7. ปริมาณน้ำมันภายใน OIL CHAMBER
8. เหตุขัดข้องและวิธีแก้ไข EJECTOR, AERATOR
รูปแสดง ส่วนต่าง ๆ ของเครื่องเติมอากาศ
EJECTOR (BER)
รูปแสดง ส่วนต่างๆ ของเครื่องเติมอากาศ
AERATOR (TR, TRN)
- ดังรูป เป็นแนวทางในการถอดชุด IMPELLER SUCTION COVER ในการเอาสิ่งสกปรกออก
- ห้อง OIL CHAMBER และห้อง MOTOR ทางบริษัทฯ ไม่แนะนำให้ถอดออก เนื่องจากลักษณะการถอดต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ