413 จำนวนผู้เข้าชม |
คู่มือการบำรุงรักษา
สำหรับเครื่องสูบน้ำเสีย
SUBMERSIBLE PUMP
การใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำเสีย
เพื่อให้เครื่องสูบน้ำเสียแบบจุ่มใต้น้ำอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำเสีย
ควรศึกษาคู่มือฉบับนี้ก่อน ให้เข้าใจและโปรดปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ตามคำแนะนำ
ถ้าหากมีปัญหาประการใดโปรดสอบถาม ฝ่ายบริการซูรูมิของทางห้างฯ ได้
1. ข้อมูลทั่วไป
เครื่องสูบน้ำเสียแบบจุ่มใต้น้ำ (Submersible Pump) ติดตั้งโดย ตัวเครื่องสูบน้ำเสียจะเคลื่อนขึ้นลง
ภายในบ่อสูบได้ตาม Guide Pipe เข้าเชื่อมติดกับอุปกรณ์ส่งน้ำทางออก (Duck Foot Bend) เป็นอุปกรณ์ช่วยให้สะดวกในการตรวจซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำเสียแบบจุ่มใต้น้ำโดยไม่ต้องลงไปในบ่อสูบ ทั้งชุดจะเรียกว่าชุด Guide Rail หรือชุด TOS ; TO
2. ส่วนประกอบเครื่องสูบน้ำเสียแบบจุ่มใต้น้ำ
Discharge Bore 50 – 80 mm.
Discharge Bore > 100 mm.
3. การเตรียมสถานที่และวิธีการติดตั้ง (Installation) ก่อนการติดตั้งปั๊มควรจะปฏิบัติดังนี้
1) ห้ามดึงหรือหิ้วสายไฟเพื่อดังปั๊มออกจากคล่อง เพราะจะทำให้ Seal ที่กันน้ำชำรุดน้ำจะเข้าไปในมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์ไหม้
2) ต้องตรวจคุณสมบัติของปั๊ม เช่น Capacity Power ตรงตามที่สั่งไว้หรือไม่
3) อย่าจุ่มปลายสายไฟลงในน้ำ
การติดตั้ง
1) พื้นบ่อจะต้องเรียบอยู่ในแนวระดับ ถ้าปั๊มเอียงจะมีผลทำให้ใบพัดสึกเร็วขึ้น
2) ควรจะฝังท่อสายไฟไว้ที่ปากบ่อ ขนาดของปากบ่อ (Manhole) ควรจะได้ตามมาตรฐานที่กำหนดขนาดไว้
3) ท่อน้ำออก (Discharge) ควรจะมีข้องอ (Elbow) น้อยที่สุด เพื่อจะได้ลดความดันสูญเสีย
4) ถ้ามีเศษวัสดุใหญ่ๆ ควรใส่ตะแกรงกรอง
5) ถ้าจะต้องต่อสายไฟให้ยาวขึ้น กรรมวิธีการต่อจะต้องกันน้ำได้ดี ถ้าจุดต่อนั้นอยู่ในน้ำ
6) ไม่ควรจะติดลูกลอยใกล้จุดท่อน้ำเข้าบ่อสูบ เพราะถ้าลูกลอยกระเทือนอาจทำให้ Contact ในลูกลอยต่อครบวงจร (ON, OFF) ทำให้การควบคุมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
7) ควรติดตั้ง Guide Pipe และ Free Standing ในแนวดิ่ง
รูปแสดง การติดตั้งแบบ Guide Rail และ Free Standing
4. การเดินเครื่อง
4.1 การต่อขั้วสายไฟ ตามตารางด้านล่าง สายไฟจากตัวเครื่องสูบน้ำเสียจะเป็นดังนี้
การ Starting Method
- Power ตั้งแต่ 0.4 kw. – 7.5 kw. Starting แบบ Direct – on – line (D.O.L)
- Power ตั้งแต่ 11 kw. ขึ้นไป Starting แบบ Star – delta
4.2 ทิศทางการหมุนของใบพัด ถ้าการต่อสายถูกต้องตามรูปแบบ การหมุนของใบพัดก็จะหมุนใน
ทิศทางที่ถูกต้องคือหมุนทวนเข็มนาฬิกา ถ้าดูจากทางด้านล่างของตัวเครื่องสูบน้ำเสียถ้าหากการหมุนของใบพัดผิดทิศทาง ให้สลับเฟสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า 2 สายใดในจำนวน 3 สาย (R, S, T) หรือ (U, V, W)
4.3 เนื่องจากมอเตอร์ชนิดนี้ เป็นชนิดที่ต้องแช่น้ำตลอดเวลา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ต่อสายดิน (Ground) สายดินของเครื่องสูบน้ำเสียจะเป็นสีเขียว
4.4 ระบบป้องกันมอเตอร์ไหม้จากความร้อน มีอุปกรณ์ติดตั้งไว้สำหรับหยุดการทำงานของ
มอเตอร์ ในกรณีที่ ขดลวดของมอเตอร์ร้อนเกินไปอันเนื่องจากการทำงานผิดปกติ หรือเกิน กำลัง มอเตอร์
ซึ่งจะ สั่งตัดการทำงานของมอเตอร์ที่อุณหภูมิ 1150 C ± 50 C
- โดยขนาดของมอเตอร์ 7.5 kw. หรือต่ำกว่า จะใช้ Circle Thermal Protector (CTP)
เมื่อมอเตอร์เย็นลง เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้มอเตอร์สตาร์ทเครื่องเอง
- และขนาดของมอเตอร์ 11 kw. ขึ้นไป จะใช้ Miniature Thermal Protector (MTP) มีในมอเตอร์ที่สตาร์ทแบบ Star-Delta และมีหลักการทำงานคล้าย CTP ตัดการทำงานของมอเตอร์ด้วยความร้อน โดยจะส่งสัญญาณให้ไปตัดวงจรการทำงานของมอเตอร์ที่ ตู้ควบคุมไฟฟ้า ถ้าต้องการให้ทำงาน ต้องกดปุ่ม RUN,ON ที่ตู้ควบคุม (ก่อนที่จะสตาร์ทมอเตอร์ ควรจะตรวจสอบว่ามีสาเหตุอะไรที่ทำให้มอเตอร์เกิดความร้อนสูง)
5. การตรวจสภาพเครื่องสูบน้ำเสีย
ระยะที่ต้องตรวจ และหลักการตัดสินว่าเครื่องสูบน้ำเสียทำงานปกติหรือไม่ ในระหว่างการทดสอบในสถานที่ใช้งาน (Field Test) หรือการทำงานประจำวัน มีดังต่อไปนี้
5.1 ตรวจสอบระบบหล่อลื่นน้ำมัน ตรวจสภาพทุกๆ 6 เดือน และเปลี่ยนทุกๆ 1 ปี ถอด Oil Plug
ของเครื่องสูบน้ำเสีย เทน้ำมันออก ถ้าพบว่ามีน้ำผสมอยู่ในน้ำมัน (สังเกตได้โดยน้ำมันจะมีสภาพผิดปกติ) ซีลของเพลามีความจำเป็นต้องเปลี่ยน ถ้าน้ำมันที่เทออกมาแล้วอยู่ในสภาพปกติ ให้เติมน้ำมันใหม่ในปริมาณที่กำหนดไว้ แล้วทำการอุดด้วย Oil Plug (น้ำมันที่ใช้ Turbine Oil ISO VG 32) ให้เปลี่ยนซีลยาง (O-Ring) ของ Oil Plug ด้วยถ้าพบว่าชำรุด
5.2 ถ้าสมรรถนะของตัวเครื่องสูบน้ำเสียลดลง อาจจะเป็นเพราะว่าใบพัดของตัวเครื่องสูบน้ำเสียสึกกร่อน หรือมีขยะอุดตันที่ใบพัด ถ้าเป็นเช่นนี้ให้ถอดใบพัดและเอาขยะที่อุดตันออก
5.3 การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำเสีย และระบบท่อส่ง
5.3.1 ตรวจเครื่องสูบน้ำเสีย : ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และทำงานตามที่ระบุไว้ที่เครื่อง
5.3.2 ตรวจใบพัดของเครื่องสูบน้ำเสีย : ไม่ตันและไม่สึกกร่อน
6. การตรวจสอบระบบไฟฟ้า (ตามปกติ)
6.1 ตรวจแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า ว่าจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าตามปกติหรือไม่
6.2 ตรวจขนาดของฟิวส์ได้ตามขนาดที่ต้องการหรือไม่ ควรมีฟิวส์สำรองไว้ในตู้ควบคุม
6.3 ตรวจขนาดและค่าต่างๆ ของอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุม ตั้งได้ค่าและตำแหน่งที่ถูกต้อง
หรือไม่ (เช่น พวกเทอร์มอล รีเลย์ ฯลฯ)
6.4 ตรวจสภาพของฉนวนไฟฟ้าของขดลวดพันมอเตอร์โดยใช้ Megger Tester ให้ถอด
สายไฟฟ้าของตัวเครื่องสูบน้ำเสียออกจากตู้ควบคุมก่อนทำการตรวจวัดทุกครั้ง โดยวัดสภาพ ของฉนวนระหว่างสายไฟฟ้ากับสายดิน ค่าที่วัดได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 20 Megohm ขึ้นไป มอเตอร์จึงจะอยู่ในสภาพใช้งานได้ ถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่า 20 Megohm จะต้องทำการถอด Motor และทำการซ่อมแซม การตรวจสภาพฉนวนไฟฟ้าควร
ตรวจทุก 3 เดือน
7. ปริมาณน้ำมันภายใน OIL CHAMBER
8. เหตุขัดข้องและวิธีแก้ไขเครื่องสูบน้ำเสีย
- ดังรูป เป็นแนวทางในการถอดชุด IMPELLER, SUCTION COVER ในการเอาสิ่งสกปรกออก
- ห้อง OIL CHAMBER และห้อง MOTOR ทางห้างฯ ไม่แนะนำให้ถอดออก เนื่องจากลักษณะ
การถอดต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ